วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์การแต่งกายนานาชาติ

ประวัติศาสตร์การแต่งกายของมนุษยชาติซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณเรื่อยๆ มาจนถึงศตวรรษที่ 20 เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปการแต่งกายในโลกตะวันตกและญี่ปุ่น การแต่งกายแบบตะวันตกนั้นมีพัฒนาการเรื่อยมาจากการใช้ผืนผ้าพันกาย (ROBE STYLE OF WRAPPING) มาสู่การตัดและเย็บเพื่อให้พอดีกับรูปร่าง (CUT AND SEW TO FIT THE BODY) ยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 14 และ 15 โดยการนับเป็น 3 สมัย ดังนี้1.ยุคสมัยการใช้ผ้าผืนพันกายหรือสมัยโบราณ (ANCIENT TIME)การแต่งกายในสมัยโบราณนี้ถือกำเนิดขึ้นในเขตอบอุ่น (SUBTROPICAL) บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีรูปแบบเด่นชัดในการใช้ผ้าผืนห่อหุ้มร่างกาย ดังมีตัวอย่างเห็นได้จากผู้คนในสมัยโบราณชาวอียิปต์ กรีก และโรมัน เป็นต้น  1.1 ชาวอียิปต์โบราณ   ชาวอียิปต์ทุกคนตั้งแต่พระราชาจนถึงสามัญชนห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าผืนที่ม้วนระหว่างขาและพันรอบเอว (LOIN CLOTH STYLE) จนถึงยุคกลางของอาณาจักร (MIDDLE KINGDOM ERA) และได้กลายเป็นแบบการแต่งกายที่มีระเบียบ (FORMAL DRESS) ในยุคต่อๆ มา สำหรับสาวอียิปต์โบราณนี้โดยทั่วไปแล้วใส่กระโปรงในรูปแบบชุดยาวสวมทางศรีษะ (CHEMISE) ภาพประกอบ A และชุดคลุมหลวมๆ (TUNIC) ภาพประกอบ B
 
หมายเหตุ : ภาพประกอบ A และ B เป็นภาพสาวร่วมสมัย ไม่ใช่สาวอียิปต์โบราณแต่ที่ให้มาเพื่อจะได้เรียนรู้ศัพท์เป็นสำคัญต่อมาในยุคอาณาจักรใหม่ (NEW KINGDOM ERA) ได้มีแฟชั่นใหม่เรียกว่า คาราสิรี (KARASIRIS) ซึ่งใช้ผ้าลินินบางๆ มาห่อหุ้มร่างกาย (ดูภาพประกอบที่ 1) ในยุคสมัยนี้แฟชั่นการตัดผมสั้นเป็นที่นิยมทั้งชายและหญิง มีการสวมใส่วิกและการประดับประดาเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะบริเวณปกด้วยสีสันสดใส
 
   1.2    ชาวกรีกโบราณ    การแต่งกายของชาวกรีกโบราณมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวในรูปแบบเรียบง่ายและมีการใช้พลีทหรือจับจีบ ในช่วงต้นมีการใช้ผ้าคลุมส่วนบนร่างกาย (PEPLOS) แบบง่ายๆ ด้วย ต่อมาในยุคคลาสสิก (CLASSICAL PERIOD) ได้เกิดความนิยมที่กรุงเอเธนส์ในการใส่ชุดยาวหลวมๆ (CHITON) ทำจากผ้าลินินบางๆ แบบไอโอเนียน (IONIAN STYLE) (ผู้เขียน : IONIA เป็นแถบชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะที่ยื่นมาในบริเวณเอเชียไมเนอร์ตะวันตก ชาวไอโอเนียนเป็นหนึ่งในสี่ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ของกรีกโบราณ และมีถิ่นที่อยู่ในด้านตะวันออกของกรีกในช่วงยุคสมัย 1,100 ปีก่อนคริสตศักราช) ส่วนบนของร่างกายมีการใช้ผ้าผืนคลุม อาจจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ (HIMATION) ลักษณะเป็นผ้าคลุมไหล่ขนาดใหญ่ ปกติใช้คลุมไหล่ซ้ายข้างเดียว (ดูภาพประกอบที่ 2)
   
1.3 ชาวโรมันโบราณ    เมื่อพรรครีพับรรีกันเป็นรัฐบาลในกรุงโรม ชายชาตรีไฮโซสวมใส่เครื่องนุ่งห่มคล้ายจีวร(TOGA) (ดูภาพประกอบที่ 3) คลุมทับกับชุดทูนิคที่สวมใส่ไว้ข้างใน สำหรับสตรีแต่งด้วยชุดยาว (STOLA) และผ้าคลุม (PALLA) ซึ่งเรียนแบบมาจากชาวกรีก ในยุคสมัยของจักรพรรดิชุดคลุมหลวมแบบ TUNIC ถูกทดแทนด้วยชุดหลวมตัดตรงแขนกว้าง เรียกว่า DALMATICA ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของการแต่งกายสมัยกลางและยังคงใช้พิธีการทางศาสนาจนทุกวันนี้
  
PALLA (ลาติน) PALL (อังกฤษ) ผ้าคลุมในพิธีกรรม เช่น ผ้าคลุมจากกาลิกในพิธีมิสซาศาสนาคาทอลิกหรือผ้าคลุมหีบศพ ต่อมาดัดแปลงเป็นการคลุมไหล่คล้ายผ้าคลุมบ่า 2 ข้าง คลุมข้ามาด้านหน้าและใช้สร้อยยาวกลัดชายผ้าสองข้างด้านหน้าอก ประดับประดาสร้อยให้สวยงามอีกต่างหากเรียกว่า PALLIUM เป็นเครื่องหมายแสดงยศถาบรรดาศักดิ์จากรูปแบบ TUNIC ซึ่งเป็นชุดคลุมหลวมได้ย่างเข้าสู่รูปลักษณ์ที่เป็นเสื้อผ้า (DRESS)2. ยุคสมัยกลาง (MEDIEVAL TIME)    ภายหลังจากการแบ่งแยกจักรวรรดิโรมัน ประเทศโณมันตะวันออกได้กลายเป็นผู้นำที่ล้ำหน้ามากที่สุดในสมัยกลางนี้และได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมทั้งแบบ HELLENISM  (กรีกโบราณ) และ SARACENIC (เผ่าพันธุ์อาราเบียดั้งเดิม) ในยุคนี้ได้ถูกขนานนามว่ายุค BYZANTINE    2.1 ยุค BYZANTINE        ลักษณะการแต่งกายในยุคนี้ถือได้ว่าเป็นการผสมผสานที่สมบูรณ์ โดยได้รวมการใช้ผ้าพันกาย (ROBE STYLE) ของชาวโรมันเข้ากับรูปแบบของชาวเหนือผนวกกับรสนิยมหรูของชนเผ่าตะวันออก       ผู้คนจะใส่ชุดคลุมด้านนอกสีม่วง เรียกว่า PALUDAMENTUM (ดูภาพประกอบที่ 4) และผู้ชายมักใส่ชุด DALMATICA หรือชุดหลวมตรงทรงยาวระดับเข่า แขนกว้างและใส่ถุงน่องยาวถึงต้นขาเหนือเข่า (คล้าย STOCKINGSในปัจจุบัน) เรียกว่า CHAUSSES ในขณะที่พวกผู้หญิงมักใส่ชุด DALMATICA ยาวถึงข้อเท้า และประดับประดาอย่างหรูหรา ในยุคนี้ได้มีการนำเทคนิคการทอผ้าไหมมาใช้ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบของเทคนิคการทอผ้าในยุโรป
   
2.2 ยุค ROMANESQUE       ยุคนี้อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 12 และ 13 การแต่งกายช่วงนี้กลุ่มคนที่อยู่ในระบบการยึดครองดินแดนมักใช้เสื้อผ้าหนาสวมใส่เพื่อจะให้ดูกลมกลืนเข้ากับความเชื่อถือ       ลักษณะที่น่าสังเกตเป็นพิเศษคือ ทั้งชายและหญิงจะใส่ชุดชั้นในทำจากใยกัญชา (HEMPEN) เรียกว่า CHAINSE และสวมเสื้อทับในรูปแบบ TUNIC แต่ส่วนบนเหนือเอวรัดรูป เรียกว่า BLIAUT  (ดูถาพประกอบที่ 5 และ 6) พร้อมกับทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเสื้อคลุมยาวหลวมลักษณะคล้าย TUNIC ไม่มีแขนเรียกว่า SURCOTE (ภาพประกอบที่ 7) หรือใช้ผ้ายาวคลุมห่มข้ามไหล่ เรียกว่า MANTLE (ภาพประกอบที่ 5 และ 6)
    
สำหรับผู้หญิงจะใส่ VEILS (ผ้าคลุมศรีษะประดับชายลูกไม้พร้อมกับสายรัดใต้คาง ซึ่งเป็นต้นแบบที่ถูกนำมาดัดแปลงให้กับแม่ชีชาวตะวันตก)    เสื้อ BLIAUT ต่อมาได้มีการเพิ่มทักษะขึ้น ผู้หญิงเริ่มใช้เชือกหรือสายคาดรัดเสื้อให้เข้ารูป และเสื้อผ้าเริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็นลักษณะรัดรูป ส่วนผู้ชายโดยทั่วไปแล้วใส่เสื้อแจ็คเก๊ตยาวระดับเอว และใส่กางเกงทรงหลวมซึ่งยังเรียกว่า CHAUSSES อยู่